- โฮมเพจ
- สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย
- ระบบสวัสดิการสังคม
- 4.บริการช่วยเหลือทางการเงินอื่น
- สิทธิประโยชน์สวัสดิการ
สิทธิประโยชน์สวัสดิการ
ค่าครองชีพขั้นต่ำอยู่ที่เท่าใด
ค่าครองชีพขั้นต่ำ คือ ยอดรวมของเงินช่วยเหลือในการดำเนินชีวิตต่อเดือน (153,887 เยน) บวกกับเงินช่วยเหลือค่าที่พักอาศัย (ยอดจ่ายจริงสูงสุดต่อครัวเรือน: 49,000 เยน) (ข้อมูล ณ วันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ในกรณีของเมืองฮิโรชิม่า เกรด 1 พื้นที่-2) ตัวเลขนี้อยู่บนพื้นฐานการคุ้มครองมาตรฐานในครัวเรือนเฉลี่ย (สามี ภรรยา และลูก 1 คนที่พักอาศัยเฉลี่ย)
ปัจจุบันมีการช่วยเหลือประเภทใดบ้าง
หลังการคำนวณค่าครองชีพขั้นต่ำสุดตามเงื่อนไขรายบุคคลแล้วนำมาเปรียบเทียบกับรายได้ครัวเรือน และมีส่วนของเงินช่วยเหลือที่จ่ายไปในรูปของการทดแทนส่วนต่างค่าครองชีพ ด้วยเหตุผลนี้ ยอดที่จ่ายจึงแตกต่างกันไปตามแต่ละครัวเรือน ทั้งนี้ แบ่งการช่วยเหลือออกไปเป็น 8 หมวดดังนี้
1. การช่วยเหลือด้านการดำเนินชีวิต | เป็นการช่วยเหลือด้านความจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวัน (เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ค่าพลังงาน เป็นต้น) ส่วนยอดที่จะจ่ายเพิ่มเติมนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคลและครัวเรือน |
---|---|
2. การช่วยเหลือด้านการศึกษา | เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้สามารถเข้ารับการศึกษาภาคบังคับได้ (เช่น ตำราเรียน อุปกรณ์เครื่องใช้ไปโรงเรียน อาหารกลางวันที่โรงเรียน เป็นต้น) |
3. การช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย | เป็นการช่วยเหลือเพื่อการมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งและเพื่อการซ่อมแซมบ้านเรือน (เช่น ค่าเช่า ค่าซ่อมแซม เป็นต้น) |
4. การช่วยเหลือทางการแพทย์ | การช่วยเหลือด้านความจำเป็นทางการแพทย์กรณีบาดเจ็บและเจ็บป่วย (ค่าให้คำปรึกษา ค่ายา เป็นต้น) |
5. การช่วยเหลือบริบาล | เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้การบริบาลดูแลในส่วนที่จำเป็น (เช่น ค่าดูแลตามบ้าน ค่าผลิตภัณฑ์ช่วยเหลือ ค่าปรับปรุงบ้าน เป็นต้น) |
6. การช่วยเหลือด้านการคลอดบุตร | เป็นการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร (เช่น ค่าคลอด ค่าผ้าพันแผล ค่ารายการอนามัยที่จำเป็น เป็นต้น) |
7. การช่วยเหลือด้านอาชีพ | เป็นการช่วยเหลือด้านอาชีพหรือการจ้างงาน (เช่น ค่าการศึกษาระดับมัธยมปลาย เงินทุน ค่าอุปกรณ์ที่ต้องจัดซื้อ และค่าทรัพยากรอื่น ค่าเพิ่มเติมทักษะ เป็นต้น) |
8. การช่วยเหลือพิธีฌาปนกิจศพ | เป็นการช่วยเหลือในการจัดพิธีฌาปนกิจศพ (เช่น ค่าปลงศพ ค่าชันสูตรศพ ค่าเคลื่อนย้ายร่างผู้วายชนม์ เป็นต้น) |
จะมีการคัดเลือก จัดสรรต่างๆ ที่จำเป็นตามแต่ละสถานการณ์ไป ขึ้นกับประเภทการดูแล การจัดสรรเหล่านี้อาจไม่อยู่ในรูปของการจ่ายเป็นเงินสดเพื่อช่วยเหลือเท่านั้น แต่ยังอาจอยู่ในรูปแบบอื่นด้วย นอกจากนี้ ยังอาจมีการพิจารณาให้มีการจัดสรรการดูแลตามบ้านหรือที่หน่วยงาน/สถาบัน ตามแต่สถานการณ์ในเวลานั้น
มีระเบียบขั้นตอนที่จำเป็นใดหรือไม่
อันดับแรก จะมีการให้คำปรึกษาด้านสวัสดิการ ณ หน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นหรือสำนักงานสวัสดิการก่อน ตามด้วยการสัมภาษณ์โดยผู้ให้คำปรึกษารายกรณี เพื่อยืนยันรายได้และทรัพย์สินปัจจุบัน ตลอดจน คุณสมบัติที่จะมีสิทธิในการได้รับหรือใช้สิทธิประโยชน์อื่น ระบบจะอธิบายให้ท่านทราบ และมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องในอนาคตด้วย กรณีที่มีข้อสรุปว่า สวัสดิการเป็นทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่สำหรับบุคคลนั้น คำขอรับการช่วยเหลือนี้จะได้รับการอนุมัติให้ผ่าน
หลังเสร็จสิ้นการยื่นเรื่องขอแล้ว ผู้ให้คำปรึกษารายกรณีจะเดินทางไปเยี่ยมเยือนถึงบ้าน เพื่อยืนยันระดับการดำเนินชีวิต และเพื่อพิจารณากำหนดว่า จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ กรณีที่การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยเป็นเหตุผลหลัก จำเป็นต้องมีการสำรวจอาการและความเห็นที่เกี่ยวกับความจำเป็นในการได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ปฐมภูมิก่อนแล้วจึงยื่นคำขอไป กรณีที่มีการตัดสินชี้ขาดเรื่องการให้การช่วยเหลือนี้ จะมีการแจ้งผลการตัดสินไปทางจดหมาย แต่หากการช่วยเหลือนี้ถูกปฏิเสธ จะแจ้งเรื่องการปฏิเสธนั้นไปทางจดหมายเช่นกัน ผู้ยื่นขอจะได้รับการแจ้งนี้ทางจดหมายภายใน 14 วัน (เฉพาะกรณีพิเศษเท่านั้น ที่อาจใช้เวลา 30 วัน)
การเคลื่อนไหวเพื่อร้องเรียน หมายถึง อะไร
ภายหลังการพิจารณาตัดสินเรื่องการยื่นขอการช่วยเหลือ หากมีเหตุผลให้คัดค้านรายละเอียดการพิจารณาตัดสินนั้น สำนักงานสวัสดิการพร้อมที่จะรับฟังเหตุดังกล่าว ภายหลังการหารือกับสำนักงานสวัสดิการ หากยังคงมีเหตุผลให้คัดค้าน สามารถร้องเรื่องไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ภายใน 60 วันหลังรับแจ้งเรื่อง (การเคลื่อนไหวเพื่อร้องเรียน)
ระบบสวัสดิการสังคม
- ระบบสวัสดิการสังคม หน้าหลัก
- 1 ผสานวิถีการดำเนินชีวิตกับบริการต่างๆ ที่พร้อมอยู่
- 2 การช่วยเหลือด้านการชำระค่ารักษาพยาบาล โดยการแสดงบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย
- 3 บริการชำระค่ารักษาพยาบาลอื่น
- 4 บริการช่วยเหลือทางการเงินอื่น
- 5 บริการช่วยเหลือการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึง การดูแลระยะยาว
- 6 ระเบียบปฏิบัติกรณีเปลี่ยนแปลงสถานะ
- 7 การคุ้มครองความเป็นส่วนบุคคล