ศูนย์โรคเอดส์ประจำภูมิภาคชูโงะคุและชิโกะคุ
สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย

ระบบสวัสดิการสังคม

บัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

บัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย คืออะไร

บัตรนี้ให้ไว้แก่บุคคลที่มีความพิการทางร่างกายตามที่นิยามไว้ในหลักการแห่งพระราชบัญญัติสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความพิการ โดยบุคคลที่มีความพิการจะได้รับบัตรนี้เมื่อยื่นรายงานทางการแพทย์และได้รับการอนุมัติว่าระดับความพิการนั้นตรงกับหลักเกณฑ์การรับรอง ส่วนการติดเชื้อ HIV ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สิทธิประโยชน์จากการได้รับการรับรองว่าเป็นผู้มีความพิการมีอะไรบ้าง

บุคคลที่ได้รับการรับรองเช่นนี้จะสามารถใช้ประโยชน์จากหลากหลายบริการที่กำหนดไว้ภายใต้พระราชบัญญัติสวัสดิการสำหรับบุคคลที่มีความพิการ ผู้ถือบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกายจะมีสิทธิได้รับสิทธิบางอย่างที่ดีกว่า
เช่น ได้รับส่วนลดเจอาร์และทางด่วน ค่าธรรมเนียมส่วนลดเมื่อเข้าใช้สาธารณะประโยชน์ การลดหย่อนเมื่อสำแดงรายได้ เป็นต้น

มีข้อมูลใดบ้างที่พิมพ์ไว้ที่บัตร

หน่วยงานภาครัฐระดับท้องถิ่นแต่ละแห่งจะรูปแบบของตนเอง บัตรที่ออกโดยเมืองฮิโรชิม่าจะเป็นแผ่นพับทบที่ยาวและแคบ อีกทั้ง จะระบุประเภทความพิการไว้ ("ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง” สำหรับผู้ป่วย HIV) การจัดขั้นความพิการ (ขั้น 1 ถึง 4) และที่อยู่ที่ด้านในแผ่นพับ อีกทั้ง จะมีการติดรูปถ่ายไว้ที่ด้านนอกของบัตร พร้อมด้วยข้อมูลอื่นๆ เช่น วันเดือนปีเกิด และวันที่ออกบัตร

ข้าพเจ้าต้องทำอย่างไร ในการยื่นขอมีบัตรบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

ให้ยื่นเอกสารต่างๆ ที่จำเป็น (อ้างอิงจากด้านล่าง) ยังส่วนงานบริการสวัสดิการ ณ สำนักงานภาครัฐที่มีอำนาจพิจารณาตัดสินใจในเขตของท่าน จากนั้น จังหวัดหรือเทศบาลของท่านจะจัดขั้นความพิการของท่าน ตามรายงานการทางการแพทย์ของท่าน ส่วนบัตรจะออกโดยสำนักงานภาครัฐระดับท้องถิ่นของท่าน

รายการเอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอบัตรบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

1. แบบคำขอ (กรอกด้วยตนเอง)
2. รายงานทางการแพทย์ (กรอกโดยแพทย์ที่ได้รับการกำหนดไว้)
3. บัตรมายนัมเบอร์
4. รูปถ่าย 2 ใบ (ขนาดยาว 4 ซม. X กว้าง 3 ซม.)
5. บัตรประจำตัวผู้พำนัก (Residence Card) หรือ บัตรประจำตัวผู้พำนักถาวรแบบพิเศษ (Special permanent resident certificate) (เฉพาะบุคคลที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น)

ใครเป็นผู้กรอกรายงานทางการแพทย์ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นต่อการขอมีบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติสวัสดิการบุคคลที่มีความพิการได้ระบุถึงแพทย์ที่มีสิทธิกรอกรายงานทางการแพทย์ไว้ โดยทั่วไป แพทย์อย่างน้อย 1 คนในทุกหน่วยรักษา HIV มักเป็นอายุรแพทย์หรือกุมารแพทย์ จะเป็นแพทย์ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 15 นี้ ดังนั้น จะไม่มีการยอมรับรายงานทางการแพทย์ที่เขียนโดยแพทย์ท่านอื่นที่ไม่ใช้แพทย์ตามกำหนดนี้

ข้าพเจ้าสามารถขอเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นในการยื่นขอได้จากที่ใด

ท่านสามารถขอรับแบบคำขอและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอบัตรนี้ได้ที่สำนักงานภาครัฐระดับท้องถิ่นของท่านและหน่วยการแพทย์ตามกำหนดที่ซึ่งท่านเข้ารับการรักษาอยู่ในปัจจุบัน กรุณาสอบถามที่โต๊ะประชาสัมพันธ์หรือเคาน์เตอร์บริการทางการแพทย์

ข้าพเจ้าต้องยื่นคำขอด้วยตนเองหรือไม่

ตามกฎแล้ว ผู้ยื่นเรื่องควรยื่นคำขอด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม กรณีที่ความพิการขั้นรุนแรงนั้นทำให้เกิดความยากลำบากในการนี้ ท่านสามารถให้ตัวแทนของท่านมาดำเนินการยื่นเรื่องแทนได้ และเมื่อคำนึงถึงการที่ผู้ป่วย HIV อาจถูกเลือกปฏิบัติแล้ว จึงอาจอนุมัติให้สามารถยื่นเรื่องผ่านการมอบฉันทะหรือยื่นทางไปรษณีย์ได้ โดยผู้แทนในที่นี้มิได้จำกัดไว้เพียงสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น แต่ผู้ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล (นักสังคมสงเคราะห์) ก็สามารถยื่นเรื่องแทนท่านได้

ต้องใช้เวลานานเท่าใดกว่าบัตรจะส่งถึงข้าพเจ้า

ปกติจะใช้เวลาราว 4 ไม่เกิน 6 สัปดาห์ในการประมวลผลเพื่อออกบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย แม้โดยทั่วไปแล้ว จะให้เดินทางเข้ามารับด้วยตนเอง แต่ก็อาจมีข้อยกเว้นเป็นการจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ได้

เมื่อใดที่ข้าพเจ้าสามารถเริ่มใช้บริการสวัสดิการได้

สามารถใช้บริการสวัสดิการได้ตั้งแต่วันที่ออกบัตรตามซึ่งระบุไว้ที่บัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

ระบบสวัสดิการสังคม

PageUP