ศูนย์โรคเอดส์ประจำภูมิภาคชูโงะคุและชิโกะคุ
สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย

ระบบสวัสดิการสังคม

โปรแกรมการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็ก

โปรแกรมการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็ก คืออะไร

โปรแกรมการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็ก คือ โปรแกรมที่รัฐบาลแห่งชาติดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาในเด็กที่มีอายุ 20 ปีหรือน้อยกว่า และเป็นผู้ที่จำเป็นต้องรับการรักษาโรคระยะยาวจำเพาะ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกิดขึ้น โปรแกรมนี้ได้ถูกโอนย้ายมาอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติสวัสดิการเด็ก และมีการแก้ไขในบางเนื้อหา โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2548

1. โรคเป้าหมาย (ณ วันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564)

มีโรคเป้าหมายจำนวน 788 โรคใน 16 กลุ่ม เด็กที่มีผลบวก HIV ที่กำลังรับการรักษาโรคตามรายการสามารถยื่นขอเข้าร่วมโปรแกรมนี้ได้

2. อายุที่มีสิทธิ์

สำหรับทุกโรค ผู้ขึ้นทะเบียนใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ปัจจุบันสามารถคงความต่อเนื่องในการเป็นที่ศึกษาโรคจนกว่าจะอายุ 20 ปี และเพื่อคงความต่อเนื่องนี้ จำเป็นต้องยื่นเรื่องให้แล้วเสร็จในขณะที่ผู้ป่วยมีอายุ 18 ปี (นับจากวันคล้ายวันเกิดปีที่ 18 ถึงวันก่อนวันคล้ายวันเกิดปีที่ 19) เฉพาะผู้ที่ได้รับการพิจารณาว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเท่านั้นจะเป็นผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโปรแกรมนี้

3. ขอบเขตการดูแลทางการแพทย์

ก่อนหน้านี้ สิทธิประโยชน์นี้มิได้ให้ไว้แก่ผู้ป่วยนอกทุกราย ขึ้นกับโรคที่ผู้ป่วยนอกรายนั้นเป็น แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ปัจจุบันผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในทุกโรคมีสิทธิ์รับสิทธิประโยชน์นี้ ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าแพทย์เพื่อการรักษา ค่าอาหารพิเศษระหว่างการพักรักษาที่โรงพยาบาล ค่ายาตามใบสั่งแพทย์ที่อยู่ในประกัน และค่าพยาบาลเยี่ยมไข้ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์นี้จะไม่ครอบคลุมค่าอุปกรณ์หรือค่าเครื่องมือช่วยเหลือต่างๆ

4. การชำระร่วม

ยอดการชำระร่วมของบุคคลจะกำหนดจากยอดภาษีเทศบาลและภาษีเงินได้ที่จ่ายในปีก่อนหน้า โดยผู้หารายได้หลักของครัวเรือน (กรุณาอ้างอิงตารางด้านล่าง)
*อย่างไรก็ตาม บุคคลที่ยื่นเรื่องดังต่อไปนี้จะได้รับการยกเว้นจากการจ่ายค่าใช้จ่ายทางการแพทย์
ก) บุคคลที่เป็นโรคฮีโมฟีเลีย (รวมถึง ผู้ป่วยที่มีสิทธิในโครงการวิจัยเพื่อการรักษาทางการแพทย์ต่อความผิดปกติในปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่มีมาแต่กำเนิด)
ข) บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยโรคจำเพาะร้ายแรง

[ตาราง] การชำระร่วมขั้นสูงสุดสำหรับโปรแกรมการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็ก (จ่ายเป็นเงินเยนญี่ปุ่น)
การแบ่งระดับ แนวทางสำหรับรายได้ต่อปี
(ครัวเรือนที่ประกอบด้วยคู่สมรสและลูก 1 คน)
วงเงินสูงสุด
(อัตราการชำระร่วมของผู้ป่วย: ร้อยละ 20 ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน)
ทั่วไป ร้ายแรง* บุคคลที่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือ เช่น ในรูปของเครื่องช่วยหายใจ
ครัวเรือนตามสวัสดิการ 0
การยกเว้นภาษีของผู้อาศัยในเขตเทศบาล รายได้ต่ำ I (น้อยกว่าประมาณ 800,000 เยน) 1,250 500
รายได้ต่ำ lI (น้อยกว่าประมาณ 2,000,000 เยน) 2,500
รายได้ทั่วไป I
(ภาษีของผู้อาศัยในเขตเทศบาลที่ต่ำกว่า 71,000 เยน หรือรายได้ต่อปีที่ประมาณ 4,300,000 เยน)
5,000 2,500
รายได้ทั่วไป Ⅱ
(ภาษีของผู้อาศัยในเขตเทศบาลที่ต่ำกว่า 251,000 เยน หรือรายได้ต่อปีที่น้อยกว่าประมาณ 8,500,000 เยน)
10,000 5,000
รายได้สูง
(ภาษีของผู้อาศัยในเขตเทศบาลที่สูงกว่า 251,000 เยน หรือรายได้ต่อปีมากกว่าประมาณ 8,500,000 เยน)
15,000 10,000
มื้ออาหารระหว่างการพักรักษาที่โรงพยาบาล ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่าย

*ร้ายแรง: หากเข้าข่ายอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ให้ถือว่าอยู่ในขั้น "ร้ายแรง"
(1) บุคคลที่ต้องชำระค่ารักษาสูงเป็นระยะเวลานาน อีกทั้ง มีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์รวมต่อเดือนเกินกว่า 50,000 เยน (กรณีที่ผู้ป่วยรับผิดชอบเองร้อยละ 20 ของค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ยอดที่จะได้รับการช่วยเหลือจะอยู่ที่ 10,000 เยนต่อเดือน) เป็นจำนวนมากกว่า 6 ครั้งต่อปี
(2) บุคคลที่เข้าหลักเกณฑ์การเป็นผู้ป่วยโรคร้ายแรง

5. ข้อแนะนำในการได้รับบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย

บุคคลที่มีอายุเกินกว่าอายุที่กำหนดไว้ในโปรแกรมการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็กจะไม่สามารถใช้โปรแกรมนี้ได้อีกต่อไป และหลายคนเลือกยื่นขอเข้าโครงการช่วยเหลือ “การชำระค่าบริการทางการแพทย์และการช่วยเหลือบุคคลที่มีความพิการ” ซึ่งจำเป็นต้องใช้บัตรรับรองผู้พิการทางร่างกายร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม บุคคลที่เพิ่งเริ่มรับยาต้าน HIV ตั้งแต่เด็ก บางครั้งจะไม่สามารถได้รับบัตรนี้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามมาตรฐานการรับรอง ด้วยเหตุนี้ เราขอแนะนำผู้ป่วยให้ได้รับบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย ก่อนเริ่มเข้ารับยาต้าน HIV

ข้าพเจ้าจะขอรับบัตรรักษาพยาบาลสำหรับโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็กได้อย่างไร

ยื่นเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยงานภาครัฐ (เช่น หน่วยงานสวัสดิการ) หรือสำนักงานสุขภาพที่มีอำนาจพิจารณาในเขตของท่าน (โดยการยื่นเอกสารด้วยตนเองหรือส่งทางอีเมล)

สิ่งที่ท่านจำเป็นต้องมี
  • แบบคำขอ
  • ตราประทับส่วนบุคคล
  • บัตรประกันสุขภาพ
  • หนังสือแสดงความยินยอมเพื่ออ้างอิงต่อผู้ออกบัตร
  • แบบประเมินทางการแพทย์ (กรอกโดยแพทย์)
  • หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้ของผู้หารายได้หลัก (สำเนาหนังสือรับรองการลดหย่อนภาษีหรือการคืนภาษีเงินได้) <กรุณาอ้างอิงหมายเหตุ 1>
  • คำขอหนังสือรับรองผู้ป่วยวิกฤต <กรุณาอ้างอิงหมายเหตุ 2>
  • เอกสารที่พิสูจน์ ยืนยันขนาดความพิการ (เช่น สำเนาบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย หรือบัตรรับรองเบี้ยบำนาญผู้พิการ <กรุณาอ้างอิงหมายเหตุ 3>
 
หมายเหตุ

<หมายเหตุ 1> ไม่จำเป็นสำหรับบุคคลที่เป็นโรคฮีโมฟีเลียหรือบุคคลที่ยื่นขอมีหนังสือรับรองผู้ป่วยวิกฤต
<หมายเหตุ 2> จำเป็นจำเพาะบุคคลที่ยื่นขอมีหนังสือรับรองผู้ป่วยวิกฤต
<หมายเหตุ 3> จำเป็นจำเพาะบุคคลที่ยื่นขอมีหนังสือรับรองผู้ป่วยวิกฤต

ตามกฎระเบียบแล้ว ปัจจุบันผู้ปกครองต้องรับผิดชอบในการดำเนินขั้นตอนการยื่นขอต่างๆ แต่กรณีนี้อนุโลมให้ผู้อื่นกระทำแทนผู้ป่วยหรือผู้ปกครองได้ ทั้งนี้ จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนใหม่เพื่อคงความต่อเนื่องไว้ในทุกปี ท่านสามารถขอรับเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นได้จากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการแพทย์ แต่สำหรับบางหน่วยงาน ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบคำขอจากเว็ปไซต์ของเทศบาลได้

เมื่อใดที่ข้าพเจ้าสามารถเริ่มใช้บัตรรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็กได้

บัตรนี้สามารถใช้ได้ตั้งแต่วันที่ยื่นขอ เว้นแต่กำหนดไว้เป็นอื่น กรณีที่มีค่าใช้จ่ายทางการแพทย์เกิดขึ้นระหว่างวันที่ยื่นขอกับวันที่ได้รับบัตรจากหน่วยงานผู้ออกบัตร และได้ชำระค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ไปเป็นจำนวนเงินที่เกินวงเงินชำระร่วม ท่านจะได้รับการจ่ายเงินคืนเป็นจำนวนที่เกินกว่าวงเงินชำระร่วมนั้น กรณีของเมืองฮิโรชิม่า หากอยู่ภายในหนึ่งเดือนนับจากวันยื่นคำขอ อาจอนุมัติให้สามารถใช้ได้โดยย้อนหลังเป็นวันตรวจวินิจฉัยหรือวันเริ่มต้นการรักษาตามที่ระบุไว้ในรายงานของแพทย์ แต่จะไม่ย้อนหลังนานกว่าวันยืนยันการวินิจฉัย ด้วยเหตุนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการตรวจหาเชื้อและขั้นตอนอื่นที่กระทำก่อนการยืนยันการวินิจฉัยจะไม่เข้าข่ายกรณีนี้

ข้าพเจ้าสามารถใช้บัตรรักษาพยาบาลสำหรับโรคเรื้อรังจำเพาะในเด็กได้ที่ไหน

เนื่องจากโรคจำเพาะและชื่อสถาบันที่ขึ้นทะเบียนไว้ตอนยื่นเรื่องได้ระบุไว้ที่บัตรรักษาพยาบาลแล้ว ระบบนี้จึงมีผลบังคับใช้เฉพาะสถาบันการแพทย์ที่มีชื่อระบุในบัตรเท่านั้น กรณีที่จำเป็นต้องรับการตรวจวินิจฉัยด้วยโรคจำเพาะตามที่กำหนดไว้ ณ สถาบันการแพทย์อื่น บุคคลที่มีสิทธิสามารถขึ้นทะเบียนเพิ่มเติมกับสถาบันดังกล่าวได้

ข้าพเจ้าจำเป็นต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไปถึงสถาบันการแพทย์

ยื่นบัตรนี้พร้อมบัตรประกันของท่านต่อสถาบันการแพทย์ที่ท่านเดินทางไปหา หากมีความคุ้มครองอื่นใดร่วมด้วย (เช่น บัตรทารก หรือสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยวิกฤต) ให้ยื่นเอกสารดังกล่าวด้วย

ยอดชำระร่วมของข้าพเจ้าจะเป็นเช่นใด

ยอดชำระร่วมของท่านจะไม่เกินกว่าวงเงินรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อเดือนตามที่ระบุไว้ในบัตรรักษาพยาบาลของท่าน หากมีการเรียกเก็บไม่เกินกว่าวงเงินดังกล่าว ท่านจำเป็นต้องชำระยอดเงินนั้นไป ท่านจำเป็นต้องชำระยอดเงินที่ไม่เกินวงเงินต่อเดือนของท่านแก่แต่ละสถาบันการแพทย์ หากยอดรวมที่จ่ายให้ทุกสถาบันรวมกันเป็นยอดที่เกินกว่าวงเงินรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่อเดือนของท่าน ท่านจะได้รับการจ่ายคืน โดยต้องยื่นเรื่องไปยังศูนย์สุขภาพภาครัฐที่มีอำนาจพิจารณาเหนือพื้นที่ของท่าน

จะเกิดอะไรขึ้น หากจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินที่โรงพยาบาลอื่น

หากการพบแพทย์เป็นไปเพื่อการรักษาโรคตามสิทธิ์สามารถยื่นเรื่องขอคุ้มครองนับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นการรักษานั้นได้ ในการเพิ่มชื่อสถาบันการแพทย์ที่เข้าพบกรณีฉุกเฉิน ต้องระบุว่ามีความจำเป็นต้องรับการตรวจฉุกเฉิน ในช่องเหตุผลของการขึ้นทะเบียนเพิ่มชื่อ

ระบบสวัสดิการสังคม

PageUP