สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย
เกี่ยวกับ HIV antibody test
- โฮมเพจ
- สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย
- เกี่ยวกับ HIV antibody test (การตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี)
- ในการชี้บ่งว่า มีการติดเชื้อ HIV ในบุคคลหรือไม่ จำเป็นต้องทำการทดสอบ 2 ประเภท ในที่นี้ คือ การตรวจคัดกรองและการทดสอบยืนยัน หากผลการตรวจคัดกรองระบุว่า ก่ำกึ่ง หรือ เป็นบวก (มีการติดเชื้อ) จะต้องให้ดำเนินการทดสอบยืนยันต่อ กรณีที่ผลการทดสอบยืนยันระบุว่า เป็นบวก (มีการติดเชื้อ) บุคคลดังกล่าวจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยในฐานะผู้ติดเชื้อ HIV
-
การตรวจคัดกรองมีการใช้อิไลซา หรือ ELISA (ย่อมาจาก Enzyme-linked Immunosorbent Assay) หรือ หลักการ Immunochromatography (IC) เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกัน HIV (หรือ แอนติบอดี HIV) อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีมานี้ มีการพัฒนาจนเกิดเป็นวิธีการต่างๆ ที่สามารถตรวจหาแอนติเจน (สิ่งแปลกปลอมที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี) และแอนติบอดี (สารภูมิต้านทาน) ได้ในเวลาเดียวกัน และ โดยปกติตามโรงพยาบาลต่างๆ มักนำหลักการ Chemiluminescence immunoassay (CLIA) มาใช้ ทั้งนี้ ร่างกายมนุษย์จะใช้เวลาเฉลี่ย 22 วันในการสร้างแอนติบอดีหลังการติดเชื้อ และมากกว่าร้อย 99 ของคน จะมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันเป็นเวลา 3 เดือนหลังการติดเชื้อ
- การทดสอบยืนยันจะอาศัยวิธี Western blot หรือ วิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับ (Reverse transcription polymerase chain reaction ต่อไปเรียกย่อว่า RT-PCR) วิธี Western blot เป็นเทคนิคที่ใช้ในการติดตามแอนติบอดีกับโปรตีนที่สนใจที่มีความจำเพาะสูง แต่มีข้อเสีย คือ การมีระยะฟักตัว (window period) ที่นานกว่า (หลายเดือนในบางเคส) ส่วนวิธี RT-PCR จะมุ่งไปที่กลุ่มยีน HIV เนื่องจากสามารถตรวจพบได้ก่อนที่ร่างกายจะพัฒนาแอนติบอดี ระยะฟักตัวจึงสั้น ด้วยเหตุนี้ วิธีนี้จึงเป็นประโยชน์ยิ่งในผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อแบบฉับพลัน
- การทดสอบที่ทราบผลภายในวัน หรือการทดสอบอย่างเร็ว (Rapid test) จะอาศัยวิธี IC ว่ากันว่า อัตราผลบวกปลอม (False Positive หรือ ความเป็นไปได้ของการที่ผลออกมาเป็นบวกทั้งที่ไม่มีการติดเชื้อจริง) จากวิธีนี้ยังมีมากกว่าวิธี ELISA แม้วิธี IC สามารถตรวจหาแอนติเจนและแอนติบอดีได้พร้อมกัน แต่อัตราผลบวกปลอมยังอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ถึง 0.4 ซึ่งเกือบเทียบเท่ากับผลบวกปลอมจากวิธีอื่น
สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย
สำหรับบุคคลที่ได้รับผลกระทบหรือมีความกังวลเกี่ยวกับเชื้อ HIV/ โรคเอดส์
- HIV antibody test (การตรวจหาแอนติบอดีที่จำเพาะต่อเชื้อเอชไอวี)
- ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อ
- บริการให้คำปรึกษา
- ข้อแนะนำเกี่ยวกับยา PEP