ให้ยื่นเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นยังเคาน์เตอร์ที่กำหนด สำหรับสถานที่ที่จะยื่นเอกสารนี้จะแตกต่างกันไปตามประเภทของแผนบำนาญที่ท่านสมัครเข้ามา ณ วันตรวจสุขภาพครั้งแรก นอกจากนี้ สำหรับบุคคลที่รับการตรวจสุขภาพครั้งแรกในระหว่างช่วงเวลาของผู้รับประกันกลุ่มที่ 3 จะกำหนดให้สำนักงานบำนาญที่มีอำนาจพิจารณาตัดสินในเขตอาศัยของท่านเป็นสถานที่ที่ท่านจะยื่นคำขอนี้
- โฮมเพจ
- สำหรับบุคคลทั่วไปและผู้ป่วย
- ระบบสวัสดิการสังคม
- 4.บริการช่วยเหลือทางการเงินอื่น
- เงินบำนาญผู้พิการ
เงินบำนาญผู้พิการ
มีเงื่อนไขจำเพาะใดของการเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญผู้พิการหรือไม่
ในการได้รับเงินบำนาญผู้พิการ จำเป็นต้องครบเงื่อนไขทุกข้อดังต่อไปนี้
- ขั้นความพิการในที่นี้เป็นเกณฑ์ที่สูงกว่ามาตรฐานที่ภาครัฐกำหนดไว้ ณ วันที่พ้น 18 เดือน ตั้งแต่เมื่อรับคำปรึกษาทางการแพทย์ขั้นต้นมา (วันประเมินความพิการ)
- ผู้ป่วยจะได้รับความคุ้มครองตามแผนบำนาญตั้งแต่วันที่รับคำปรึกษาขั้นต้น <หมายเหตุ>
- ผู้ป่วยต้องผ่านการชำระค่าเบี้ยอย่างน้อย 2 ใน 3 ส่วนของค่าเบี้ยทั้งยอด สำหรับช่วงเวลาที่สมัครเข้าบำนาญนี้ (รวมถึง ช่วงเวลาที่ยกเว้นด้วย) เรื่อยไปจนถึงสองเดือนก่อนหน้าที่ตรงกับวันตรวจสุขภาพขั้นต้น ก่อนวันที่ตรงกับวันตรวจสุขภาพขั้นต้น หรือผู้ป่วยมิได้ผิดนัดชำระค่าเบี้ยสำหรับหนึ่งปีสุดท้าย จนกระทั่งสองเดือนก่อนหน้าที่ตรงกับวันตรวจสุขภาพขั้นต้น
- ผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 65 ปี ณ วันประเมินความพิการ (สำหรับเงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ)
<หมายเหตุ> บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ณ เมื่อรับคำปรึกษาขั้นต้น จะสามารถยื่นขอได้ หลังผ่านพ้นวันคล้ายวันเกิดปีที่ 20 ของตน (ถือเป็นวันประเมินความพิการ หากวันดังกล่าวอยู่ในช่วงไม่เกิน 18 เดือนนั้น) ทั้งนี้ มีข้อจำกัดบางประการเกี่ยวกับแผนบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการกรณีผู้พิการที่รับคำปรึกษาขั้นต้น ขณะที่ตนยังอายุน้อยกว่า 20 ปี
กรุณารับคำปรึกษาในเรื่องรายละเอียดจากนักสังคมสงเคราะห์ประจำหน่วยการแพทย์ของท่าน เนื่องจากเงื่อนไขมีความแตกต่างกันไป
ข้าพเจ้าสามารถรับการจ่ายเงินบำนาญผู้พิการโดยไม่ต้องมีบัตรรับรองผู้พิการได้หรือไม่
แม้ท่านจะไม่มีบัตรรับรองผู้พิการ แต่ด้วยข้อกำหนดมาตรฐานที่มีนี้ ท่านจะสามารถเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญนี้ ข้อกำหนดเงินบำนาญตามขั้นความพิการนี้ไม่จำเป็นต้องพ้องกันกับข้อกำหนดของบัตรรับรองผู้พิการ
ข้าพเจ้าจะสมัครรับเงินบำนาญผู้พิการได้อย่างไร
รายการเอกสารที่จำเป็นในการยื่นขอเงินบำนาญผู้พิการ
เอกสารที่จำเป็น
- แบบเรียกร้องเงินบำนาญ (กรอกด้วยตนเอง)
- หนังสือบำนาญฉบับพกพา หรือเอกสารที่ระบุหมายเลขบำนาญ
- คัดลอกทะเบียนครอบครัว (ส่วนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้ หากท่านได้กรอกหมายเลขประจำตนของท่านที่เรียกว่า “มายนัมเบอร์” (My Number) ลงในแบบเรียกร้องเงินบำนาญ)
- รายงานจากแพทย์ที่เข้าร่วม (กรอกโดยแพทย์)
รายงานการวินิจฉัยสภาวะปัจจุบัน หากไม่ได้รับการพิจารณาว่าเป็นความพิการ ภายในช่วง 3 เดือนนับจากวันประเมินความพิการ รูปแบบเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้จะแตกต่างกันไปตามความพิการ ส่วนรายงานการวินิจฉัยที่อยู่ในหมวด “ความพิการอื่น” จะถูกใช้กับผู้ป่วย HIV - เอกสารที่เป็นหลักฐานพิสูจน์ถึงการรับคำปรึกษาขั้นต้นได้ (สำหรับการยื่นยังหน่วยการแพทย์ที่มิใช่แห่งเดียวกันกับที่รับคำปรึกษาขั้นต้น)
- แบบคำขอประวัติการรักษาและสถานะการจ้างงาน
ในส่วนของกิจวัตรประจำวันต้องกรอกด้วยคนเอง หรือให้สมาชิกในครอบครัวกรอกแทน - สมุดบัญชีธนาคาร
- อื่นๆ (ตามที่ร้องขอมา)
สถานที่ยื่นคำขอ
- บำนาญแห่งชาติ (บำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ)
ส่วนงานประกันและบำนาญ สำนักงานเทศบาล - บำนาญสวัสดิการ (เงินบำนาญสวัสดิการผู้พิการ)
สำนักงานสาขา ของหน่วยบริการด้านเงินบำนาญแห่งชาติญี่ปุ่น (Japan Pension Service หรือ JPS) ใกล้ท่าน หรือศูนย์ให้คำปรึกษาด้านเงินบำนาญที่ตั้งอยู่ตามมุมถนน - เงินบำนาญช่วยเหลือกันและกัน
เงินบำนาญช่วยเหลือกันและกัน
หลังการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามาแล้ว เอกสารจะถูกส่งไปยัง Japan Pension Service และรับการตรวจสอบ ยืนยันรายละเอียดต่างๆ ตาม “หลักเกณฑ์เงินบำนาญแห่งชาติและการรับรองความพิการในประกันเงินบำนาญพนักงาน” เพื่อจะพิจารณาตัดสินว่า ผู้ยื่นขอเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินบำนาญผู้พิการหรือไม่
เงินบำนาญผู้พิการจ่ายอยู่ที่เท่าใด
เบี้ยรายปีของเงินบำนาญแห่งชาติ (เงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ) และเงินบำนาญสวัสดิการ (เงินบำนาญสวัสดิการผู้พิการ) ได้อธิบายไว้ในตารางด้านล่างนี้
*กรุณาตระหนักว่า ตัวเลขนี้อาจแตกต่างกันไปตามความผันผวนทางเศรษฐกิจแต่ละปี
1. แผนบำนาญแห่งชาติ
การจ่ายเงินบำนาญรายปี ตามแผนบำนาญแห่งชาติ (เงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ) (ณ ปี พ.ศ. 2565)
ขั้น 1 | 972,250 เยนต่อปี |
---|---|
ขั้น 2 | 777,800 เยนต่อปี |
กรณีที่ผู้รับเงินบำนาญมีบุตรที่อยู่ในความอุปการะ (บุตรที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หรือบุตรที่มีความพิการขั้น 1 หรือขั้น 2) จะได้รับการจ่ายตามตัวเลขข้างต้น
2. โปรแกรมบำนาญสวัสดิการ
ยอดจ่ายรายเดือนจะคำนวณตามยอดรายได้ประจำรายเดือน ส่วนเงินบำนาญสวัสดิการผู้พิการจะถูกเพิ่มเข้าไปในเงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ
การจ่ายบำนาญรายปีตามโปรแกรมบำนาญสวัสดิการ (เงินบำนาญสวัสดิการผู้พิการ)
ขั้น 1 | องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ x 1.25 + สิทธิประโยชน์เงินบำนาญของคู่สมรส + เงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ |
---|---|
ขั้น 2 | องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ + สิทธิประโยชน์เงินบำนาญของคู่สมรส + เงินบำนาญขั้นพื้นฐานสำหรับผู้พิการ |
ขั้น 3 | องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ (ยอดจ่ายขั้นต่ำ 583,400 เยนต่อปี - ไม่มีเพิ่มเติม) |
ระบบสวัสดิการสังคม
- ระบบสวัสดิการสังคม หน้าหลัก
- 1 ผสานวิถีการดำเนินชีวิตกับบริการต่างๆ ที่พร้อมอยู่
- 2 การช่วยเหลือด้านการชำระค่ารักษาพยาบาล โดยการแสดงบัตรรับรองผู้พิการทางร่างกาย
- 3 บริการชำระค่ารักษาพยาบาลอื่น
- 4 บริการช่วยเหลือทางการเงินอื่น
- 5 บริการช่วยเหลือการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึง การดูแลระยะยาว
- 6 ระเบียบปฏิบัติกรณีเปลี่ยนแปลงสถานะ
- 7 การคุ้มครองความเป็นส่วนบุคคล